Subscribe:

โครงงานวิจัยไขผำ

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

มารู้จัก ไข่ผำกัน



ชื่อภาษาอังกฤษ : Water Meal,Swamp Algae

           อาณาจักร: พืช (Plantae) 
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Alismatales
วงศ์: Lemnaceae
สกุล: Wolffia : Wolffia globosa
ชื่อพ้อง : ไข่น้ำ ,ไข่ขำ,ผำ,ไข่ผำ,
ไข่น้ำมีหลายสกุล เช่น
 Wolffia arrhiza (L.) Wimm.และWolffia globosa

2.2 ลักษณะทั่วไป
           ผำหรือเรียกว่า ไข่แหนหรือภาคกลางเรียกว่า ไข่ผำหรือไข่น้ำ (Fresh water Alga , Swapm Algae) (รู้กันกันในชื่อ ไข่น้ำ, ไข่ขำ และ ผำ) เป็นพืชประเภทลอยบนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น แหน, แหนแดง ก็ได้ ไข่ผำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด รูปร่างเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ มักเกิดในธรรมชาติที่น้ำใส นิ่ง เช่น บึง หนองน้ำ ผำจะพบมากในฤดูฝน นำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดไข่ผำใส่หมู แกงไข่ผำหรือทอดใส่ไข่ มีชื่อสามัญว่า Water  meal และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wolffia arrhiza (L) Wimm เป็นพืชในตระกูล Lemnaceae เช่นเดียวกับแหนเป็ด พบมากในประเทศแถบยุโรป แอฟริกากลาง แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย บราซิล อินโดนีเซีย และประเทศไทย ไข่น้ำเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ได้ ในทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดเป็นอาหารธรรมชนาติประเภทพืชที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง
            (จากโครงร่างงานวิจัยเรื่องปัจจัยและความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ)
การศึกษาชีววิทยาของไข่น้ำพบว่า ไข่น้ำมีอยู่หลายชนิด เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีต้นเล็กที่สุดในโลก เป็นพืชน้ำที่มีมีราก มีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี สีเขียวเป็นมัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.5 มิลลิเมตร ชอบขึ้นในที่อากาศร้อนและแสงแดดมาก ไข่น้ำ โดยทั่วไปมัดพบในแหล่งน้ำซึ่งมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง หรือบ่อเก่าๆ ที่มีใบไม้และมูลสัตว์สะสมอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะปุ๋ยแล้วจึงไหลมารวมกันอยู่ในหนอง บึง หรือบ่อ ต่อมาก็จะมีแหนหรือไข่น้ำขึ้น การเจริญเติบโตของไข่น้ำขึ้นอยู่กับอาหารหรือปุ๋ยที่มีอยู่ในน้ำ ไข่น้ำต้องการธาตุอาหารเช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไป เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม  ไขน้ำต้องการพลังงานแสงเพื่อการสังเคราะห์แสง โดยปกติไข่น้ำเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วในช่วงฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน และลดอัตราการเจริญเติบโตลงในฤดูฝน ซึ่งอาจเนื่องจากความเข้มข้นของธาตุอาหารในฤดูฝนยังเจือจางกว่า ประกอบกับความเข้มของแสงน้อยกว่าด้วย
            จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการไข่น้ำพบว่า ไข่น้ำมีความชื้น 20-22% โปรตีน 17.88% ไขมัน 0.20% เถ้า 23.50% กากและคาร์โบไฮเดรต 38.2% และแคลเซียม 0.09%
            ในทางการประมง ไข่น้ำจัดเป็นอาหารธรรมชาติประเภทที่มีประโยชน์มากเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และนอกจากจะเป็นอาหารที่ดีของสัตว์น้ำแล้ว ไข่น้ำยังเป็นอาหารที่ดีของสัตว์บก เช่น หมู เป็ด และยิ่งไปกว่านั้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือก็นิยมรับประทานเป็นอาหารโปรดด้วย (กรมประมง, 2532)
            ในต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือมีขายในตลาดตอนเช้าเสมอโดยตวงขายเป็นถ้วยหรือเป็นลิตร หรือชั่งขายเป็นกิโลกรัม ไข่น้ำเป็นพืชที่เรารับประทานกันมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย โดยไม่มีพิษแต่อย่างใด นอกจากไม่มีพิษแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมีปริมาณโปรตีนสูงถึง 30 เปอร์เซ็น ซึ่งมากกว่าผักสีเขียวอื่นๆ โยทั่วไป (บุหลัน, 2519)
            ไข่น้ำเป็นพืชที่ถูกละเลยความสนใจมานาน ส่วนมากได้มาจากการพบโดยบังเอิญหรืออาศัยความคุ้นเคยจากการไปเก็บเกี่ยวจากแหล่งน้ำเดิมที่เคยพบมาก่อนจึงทำให้ปริมาณไข่น้ำในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงจนแทบจะกลายเป็นพืชน้ำที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นถ้าหากสามารถหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณไข่น้ำในธรรมชาติให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารสัตว์น้ำ สัตว์บก และมนุษย์ ก็จะเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารในอนาคตต่อไป (ศิริภาวี นำชัย และสุทธิพงศ์, 2545 อ้างโดย Chareontesprasit and Jiwyam 2001)
            จากการตรวจเอกสารพบว่าได้มีการทดลองหาผลผลิตของแหนเป็ดและไข่น้ำโดย กำธร (2519) โดยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ขนาด 6 ตารางเมตร ซึ่งปกติใช้ทดลองเลี้ยงปลาไหลนาใส่น้ำ 30 เซนติเมตร ก้นบ่อใส่ดินโคลนและให้อาหารปลาเป็ดบดเป็นอาหารปลาไหล บนผิวน้ำทดลองปลูกแหนเป็ดและไข่น้ำ เริ่มต้น 100 กรัม นาน 2 อาทิตย์ พบว่า ผลจากการทดลองโดยเฉลี่ยไข่น้ำให้ผลผลิตสูงกว่าแหนเป็ด ซึ่งไข่น้ำให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,483.33 กรัม และแหนเป็ดให้ผลผลิตเฉลี่ย 4053.33 กรัม
            และต่อมา ศิริภาวี นำชัย และสุทธิพงศ์ (2545) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไข่น้ำในบ่อโดยการใช้มูลสุกร มูลไก่ มูลโค และอาหารเลี้ยงสาหร่ายสูตร BG-11 เป็นปุ๋ย พร้อมทั้งคำนวณอัตราการเจริญเติบโต และรายงานว่าการเลี้ยงไข่น้ำจำนวน 0.1 กรัม/น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลผลิตที่สามารถเก็บได้ภายใน 3-6 วัน


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น