Subscribe:

โครงงานวิจัยไขผำ

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

มารู้จัก ไข่ผำกัน



ชื่อภาษาอังกฤษ : Water Meal,Swamp Algae

           อาณาจักร: พืช (Plantae) 
ดิวิชั่น: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Alismatales
วงศ์: Lemnaceae
สกุล: Wolffia : Wolffia globosa
ชื่อพ้อง : ไข่น้ำ ,ไข่ขำ,ผำ,ไข่ผำ,
ไข่น้ำมีหลายสกุล เช่น
 Wolffia arrhiza (L.) Wimm.และWolffia globosa

2.2 ลักษณะทั่วไป
           ผำหรือเรียกว่า ไข่แหนหรือภาคกลางเรียกว่า ไข่ผำหรือไข่น้ำ (Fresh water Alga , Swapm Algae) (รู้กันกันในชื่อ ไข่น้ำ, ไข่ขำ และ ผำ) เป็นพืชประเภทลอยบนผิวน้ำ อาจลอยอยู่เป็นกลุ่มล้วนๆหรือลอยปนกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น แหน, แหนแดง ก็ได้ ไข่ผำ เป็นพืชมีดอกที่มีขนาดเล็กที่สุด รูปร่างเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ มักเกิดในธรรมชาติที่น้ำใส นิ่ง เช่น บึง หนองน้ำ ผำจะพบมากในฤดูฝน นำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดไข่ผำใส่หมู แกงไข่ผำหรือทอดใส่ไข่ มีชื่อสามัญว่า Water  meal และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wolffia arrhiza (L) Wimm เป็นพืชในตระกูล Lemnaceae เช่นเดียวกับแหนเป็ด พบมากในประเทศแถบยุโรป แอฟริกากลาง แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย บราซิล อินโดนีเซีย และประเทศไทย ไข่น้ำเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่น่าสนใจมาก เพราะสามารถใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์ได้ ในทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดเป็นอาหารธรรมชนาติประเภทพืชที่มีคุณค่ามากชนิดหนึ่ง
            (จากโครงร่างงานวิจัยเรื่องปัจจัยและความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงไข่น้ำ)
การศึกษาชีววิทยาของไข่น้ำพบว่า ไข่น้ำมีอยู่หลายชนิด เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่มีต้นเล็กที่สุดในโลก เป็นพืชน้ำที่มีมีราก มีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือยาวรี สีเขียวเป็นมัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.5 มิลลิเมตร ชอบขึ้นในที่อากาศร้อนและแสงแดดมาก ไข่น้ำ โดยทั่วไปมัดพบในแหล่งน้ำซึ่งมีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง หรือบ่อเก่าๆ ที่มีใบไม้และมูลสัตว์สะสมอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะปุ๋ยแล้วจึงไหลมารวมกันอยู่ในหนอง บึง หรือบ่อ ต่อมาก็จะมีแหนหรือไข่น้ำขึ้น การเจริญเติบโตของไข่น้ำขึ้นอยู่กับอาหารหรือปุ๋ยที่มีอยู่ในน้ำ ไข่น้ำต้องการธาตุอาหารเช่นเดียวกับพืชโดยทั่วไป เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม  ไขน้ำต้องการพลังงานแสงเพื่อการสังเคราะห์แสง โดยปกติไข่น้ำเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วในช่วงฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน และลดอัตราการเจริญเติบโตลงในฤดูฝน ซึ่งอาจเนื่องจากความเข้มข้นของธาตุอาหารในฤดูฝนยังเจือจางกว่า ประกอบกับความเข้มของแสงน้อยกว่าด้วย
            จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการไข่น้ำพบว่า ไข่น้ำมีความชื้น 20-22% โปรตีน 17.88% ไขมัน 0.20% เถ้า 23.50% กากและคาร์โบไฮเดรต 38.2% และแคลเซียม 0.09%
            ในทางการประมง ไข่น้ำจัดเป็นอาหารธรรมชาติประเภทที่มีประโยชน์มากเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และนอกจากจะเป็นอาหารที่ดีของสัตว์น้ำแล้ว ไข่น้ำยังเป็นอาหารที่ดีของสัตว์บก เช่น หมู เป็ด และยิ่งไปกว่านั้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือก็นิยมรับประทานเป็นอาหารโปรดด้วย (กรมประมง, 2532)
            ในต่างจังหวัดโดยเฉพาะภาคอีสานและภาคเหนือมีขายในตลาดตอนเช้าเสมอโดยตวงขายเป็นถ้วยหรือเป็นลิตร หรือชั่งขายเป็นกิโลกรัม ไข่น้ำเป็นพืชที่เรารับประทานกันมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย โดยไม่มีพิษแต่อย่างใด นอกจากไม่มีพิษแล้วยังมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะมีปริมาณโปรตีนสูงถึง 30 เปอร์เซ็น ซึ่งมากกว่าผักสีเขียวอื่นๆ โยทั่วไป (บุหลัน, 2519)
            ไข่น้ำเป็นพืชที่ถูกละเลยความสนใจมานาน ส่วนมากได้มาจากการพบโดยบังเอิญหรืออาศัยความคุ้นเคยจากการไปเก็บเกี่ยวจากแหล่งน้ำเดิมที่เคยพบมาก่อนจึงทำให้ปริมาณไข่น้ำในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงจนแทบจะกลายเป็นพืชน้ำที่หายากอีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นถ้าหากสามารถหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณไข่น้ำในธรรมชาติให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอาหารสัตว์น้ำ สัตว์บก และมนุษย์ ก็จะเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารในอนาคตต่อไป (ศิริภาวี นำชัย และสุทธิพงศ์, 2545 อ้างโดย Chareontesprasit and Jiwyam 2001)
            จากการตรวจเอกสารพบว่าได้มีการทดลองหาผลผลิตของแหนเป็ดและไข่น้ำโดย กำธร (2519) โดยเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ขนาด 6 ตารางเมตร ซึ่งปกติใช้ทดลองเลี้ยงปลาไหลนาใส่น้ำ 30 เซนติเมตร ก้นบ่อใส่ดินโคลนและให้อาหารปลาเป็ดบดเป็นอาหารปลาไหล บนผิวน้ำทดลองปลูกแหนเป็ดและไข่น้ำ เริ่มต้น 100 กรัม นาน 2 อาทิตย์ พบว่า ผลจากการทดลองโดยเฉลี่ยไข่น้ำให้ผลผลิตสูงกว่าแหนเป็ด ซึ่งไข่น้ำให้ผลผลิตเฉลี่ย 6,483.33 กรัม และแหนเป็ดให้ผลผลิตเฉลี่ย 4053.33 กรัม
            และต่อมา ศิริภาวี นำชัย และสุทธิพงศ์ (2545) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไข่น้ำในบ่อโดยการใช้มูลสุกร มูลไก่ มูลโค และอาหารเลี้ยงสาหร่ายสูตร BG-11 เป็นปุ๋ย พร้อมทั้งคำนวณอัตราการเจริญเติบโต และรายงานว่าการเลี้ยงไข่น้ำจำนวน 0.1 กรัม/น้ำ 20 ลิตร จะให้ผลผลิตที่สามารถเก็บได้ภายใน 3-6 วัน


 

โครงงานวิจัย การเพาะไข่ผำ


โครงงานวิจัย
เรื่อง ปริมาณของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ตรา งอกงาม ที่เหมาะสมกับการเพาะไข่ผำ
                       การเพาะไข่ผำ เป็นพืชอาหารชนิดหนึ่งที่น่าเพาะไว้สำหรับการ บริโภคอย่างมาก   และในวิธีการเพาะไข่ผำเองนั้นเราไม่อาจรู้ได้ว่าปุ๋ยใดจะสามารถให้ผลผลิตของปริมาณและคุณภาพของไข่ผำที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ๋ยทั้งที่เราสามารถหาได้จากธรรมชาติและหาได้จากการซื้อตามท้องตลาดนั้น ปุ๋ยแบบใดจะดีกว่ากัน โครงงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาตรงจุดนี้ว่าปุ๋ยชนิดไหนจะเป็นคำตอบในการเพาะเลี้ยงไข่ผำได้ดีที่สุด จากการทดลองได้แบ่งการทดลองเป็น 2 Phaseด้วยกัน โดยใน Phaseแรกนั้น เป็นการทดสอบปุ๋ยในชนิดต่างๆเท่าที่จะหาได้ในสภาพแวดล้อมนั้น โดยเน้นที่เป็นปุ๋ยที่สามารถทำเองได้จากธรรมชาติ ตัวอย่างปุ๋ยที่จะนำมาทดลอง มี5ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ปุ๋ยน้ำหมักจากถั่วเหลือง,ปุ๋ยผง,ปุ๋ยน้ำหมักรกหมู,ปุ๋ยน้ำหมักจากฝางและปุ๋ยผงชีวภาพ จากบ้านราชฯ ตรา งอกงาม
                  เรา สามารถรู้ได้ว่าการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของไข่ผำได้เป็น อย่างดี แต่ เราไม่อาจรู้ได้ว่าการดูแลและการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพลงไปในปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ไข่ผำมีปริมาณที่มากและมีคุณภาพที่สุด การทดลองในการใช้ปุ๋ยในอัตราต่างๆและระยะเวลาในการศึกษาจึงเป็นสิ่งเดียวที่ เราจะสามารถรู้ได้ว่า การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพในปริมาณเท่าไหร่ จึงจะเหมาะต่อการขยายพันธุ์ไข่ผำได้ดีที่สุด


           การเพาะไข่ผำ เป็นพืชอาหารชนิดหนึ่งที่น่าเพาะไว้สำหรับการ บริโภคอย่างมาก   และในวิธีการเพาะไข่ผำเองนั้นเราไม่อาจรู้ได้ว่าปุ๋ยใดจะสามารถให้ผลผลิตของปริมาณและคุณภาพของไข่ผำที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ๋ยทั้งที่เราสามารถหาได้จากธรรมชาติและหาได้จากการซื้อตามท้องตลาดนั้น ปุ๋ยแบบใดจะดีกว่ากัน โครงงานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาตรงจุดนี้ว่าปุ๋ยชนิดไหนจะเป็นคำตอบในการเพาะเลี้ยงไข่ผำได้ดีที่สุด จากการทดลองได้แบ่งการทดลองเป็น 2 Phaseด้วยกัน โดยใน Phaseแรกนั้น เป็นการทดสอบปุ๋ยในชนิดต่างๆเท่าที่จะหาได้ในสภาพแวดล้อมนั้น โดยเน้นที่เป็นปุ๋ยที่สามารถทำเองได้จากธรรมชาติ ตัวอย่างปุ๋ยที่จะนำมาทดลอง มี5ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ปุ๋ยน้ำหมักจากถั่วเหลือง,ปุ๋ยผง,ปุ๋ยน้ำหมักรกหมู,ปุ๋ยน้ำหมักจากฝางและปุ๋ยผงชีวภาพ จากบ้านราชฯ ตรา งอกงาม
               เรา สามารถรู้ได้ว่าการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณของไข่ผำได้เป็น อย่างดี แต่ เราไม่อาจรู้ได้ว่าการดูแลและการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพลงไปในปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะทำให้ไข่ผำมีปริมาณที่มากและมีคุณภาพที่สุด การทดลองในการใช้ปุ๋ยในอัตราต่างๆและระยะเวลาในการศึกษาจึงเป็นสิ่งเดียวที่ เราจะสามารถรู้ได้ว่า การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพในปริมาณเท่าไหร่ จึงจะเหมาะต่อการขยายพันธุ์ไข่ผำได้ดีที่สุด


ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
                   ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีวิธีการบริโภคที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต  โดย บริโภคอาหารตามแบบชาติตะวันตก เรื่องจากเพื่อความสะดวกสบาย แต่ก็ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมายตามมา เช่นโรคความดันหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาหารขาดสารอาหาร และอาการท้องผูก เมื่อมีการขาดสารอาหารจึงต้องมรการสรรหาอาหารเสริมสุขภาพต่างๆ มารับประทาน ในขณะเดียวกันการเกิดอาการท้องผูกทำให้ความนิยมบริโภคเส้นใยอาหารเพิ่มขึ้น สำหรับอาหารเสริมสุขภาพและเส้นใยอาหารที่มีราคาแพง โดยเฉพาะที่ผลิตจากต่างประเทศ ดังนั้นมนุษย์ต้องหาแหล่งอาหารขึ้นมาทดแทนเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ   และไข่น้ำก็จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่น่าสนใจ เนื่องจากมีสารอาหารมากมายหลายชนิด
ไข่น้ำหรือผำ (Wolffia arrhiza) เป็นพืชน้ำจำพวกแหน มีลักษณะเป็นรูปไข่สีเขียว เมื่อเติบโตจนแก่ตัวจะเริ่มมีใบและเริ่มขยายพันธุ์ออกทางราก ใต้ใบ โดยจะเห็นในลักษณะคล้ายพรมสีเขียวลอยอยู่เหนือหน้าผิวน้ำ ไข่น้ำมีรสชาติจืดกรอบนิดหน่อย เหมือนผักทั่วไปแต่ไม่มีกลิ่น ง่ายต่อการนำไปปรุงอาหาร สำหรับคนภาคเหนือและคนภาคอีสาน นิยมนำไปรับประทาน ด้วยการผัดใส่ไข่ แกง ยำ หรือนำไปคั่ว หรือที่เรียกว่า คั่วผำเป็นที่นิยมมากในภาคเหนือ ไข่น้ำ เป็นพืชที่มีโปรตีนสูงเช่นเดียวกับเมล็ดถั่ว งา และเนื้อสัตว์ แต่มีข้อดีกว่าอาหารอื่นๆ ตรงที่มีเส้นใยอาหารสูงกว่า และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่อย่างครบถ้วน มีราคาถูกกว่า อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารให้สัตว์เลี้ยง เช่น ปลาเป็นต้น
จากการศึกษาของคุณสมบัติของไข่น้ำ พบว่ามันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารอนินทรีย์ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ธาตุอื่นๆ และพลังงานจากแสงอาทิตย์ สำหรับตัวเลือกที่จะใช้ในกรณีศึกษาการขยายพันธุ์จากการทดลองปัจจัยการเจริญเติบโตของปุ๋ยชนิดต่างๆพบว่า ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชุมชนราชธานีอโศก ตรา งอกงาม เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดีที่สุด จึงเป็นปุ๋ยที่น่าสนใจที่นำมาทดลองในเรื่องของอัตราส่วนในการใช้เพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสม ที่จะได้ผลผลิตที่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีที่สุดต่อไป

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
  • เพื่อศึกษาว่าปุ๋ยชนิดใดที่เหมาะสมในการเลี้ยงไข่ผำมากที่สุด
  • เพื่อศึกษาปริมาณปุ๋ยที่ศึกษาได้ว่า ในปริมาณใดของชนิดของปุ๋ยที่ศึกษาได้เป็นปริมาณที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ไข่ผำได้ดีที่สุด
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
  • เพื่อศึกษาขยายปริมาณพันธุ์ของไข่ผำในระยะเวลา1เดือน
  • Phase 1 ทดลองการใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ  เพื่อหาการเจริญเติบโตและได้ผลผลิตที่ดีที่สุด
  • Phase 2 ศึกษาการเปรียบเทียบการเพิ่มปริมาณของไข่ผำโดยการใช้ปุ๋ยจากผลสรุปจากการทำดลองใน phaseที่1 ในอัตราส่วน    ครึ่งกิโล,1,2,3 กิโลกรัม  เพื่อหาจุดที่ไข่ผำมีปริมาณมากและเหมาะสมต่อการนำไปจำหน่ายมากที่สุด
วิธีการดำเนินการ
Phase 1 ทดลองการใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ  เพื่อหาว่าปุ๋ยชนิดใด ให้ผลผลิตได้ดีที่สุด
  •  ตัวอย่างปุ๋ยที่จะนำมาทดลอง
  • ปุ๋ยน้ำหมักจากถั่วเหลือง
  • ปุ๋ยผง
  • ปุ๋ยน้ำหมักรกหมู
  • ปุ๋ยน้ำหมักจากฝาง
  • ปุ๋ยผงชีวภาพ จากบ้านราช ตรา งอกงาม
  • จากนั้นจึงนำผลการทดลองในปุ๋ยชนิดนั้นๆที่ได้ผลการทดลองที่น่าพอใจที่สุด จึงนำมาใส่ในบ่อเพื่อทดลองในปริมาณต่างๆต่อไป อีก 1 เดือน
Phase 2 ใช้ปุ๋ยที่ได้จากผลสรุปจากการทำการทดลองใน phaseที่1ที่ผ่าน เพื่อมาทำการศึกษาว่าการใส่ปุ๋ยลงไปในปริมาณเท่าใด ที่จะเหมะสมที่ทำให้ไข่ผำให้ปริมาณและคุณภาพได้ดีและมากที่สุด เหมาะสมต่อการนำไปจำหน่ายมากที่สุด
โดยการ ใช้ปุ๋ยที่ผลสรุปจากการทำการทดลองในPhaseที่1 มาใช้ในอัตราส่วนต่างๆดังต่อไปนี้  ลง
ในบ่อผำดิน
  • นำผำมาใส่ในบ่อเพาะ ที่ใส่ปุ๋ยในปริมาณ 0.5กิโลกรัม
  • นำผำมาใส่ในบ่อเพาะ ที่ใส่ปุ๋ยในปริมาณ 1กิโลกรัม
  • นำผำมาใส่ในบ่อเพาะ ที่ใส่ปุ๋ยในปริมาณ 2กิโลกรัม
  • นำผำมาใส่ในบ่อเพาะ ที่ใส่ปุ๋ยในปริมาณ 3กิโลกรัม
  • ทำโรงเรือน เพื่อป้องกันปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อไข่ผำในเรื่องต่างๆ
  • ติดตามผล เพื่อหาจุดที่ไข่ผำเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีที่สุด
  • บันทึกสรุปการทดลอง
ระยะเวลาในการศึกษา
ช่วงระยะเวลาในการทดลอง ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555
เวลาทั้งหมด เริ่มการทดลอง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สิ้นสุดการทดลอง เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (สรุปปิด ส่งรายงานต่ออาจารย์ชั่วคราว แต่โครงงานวิจัยยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ)
Phase 1   14 วัน หรือ 2 อาทิตย์ วันที่ 22 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เพื่อทดลองจากตัวแปรต้น จากปุ๋ยชนิดต่าง ชนิดใดจะให้ผลผลิตได้ดีที่สุด
Phase 2   7วัน หรือ 1 อาทิตย์   วันที่ 20 กันยายน 28 กันยายน พ.ศ.  2555
เมื่อได้ข้อสรุปชนิดของปุ๋ยที่เหมาะสมที่สามารถจะขยายพันธุ์ไข่ผำได้ดีที่สุด นำมาทดลองในเรื่องของปริมาณที่ไข่ผำชอบที่สุดต่อไป
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
  • ได้ผำในปริมาณที่มากและมีคุณภาพดีที่สุดไว้รับประทาน
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะผำ
  • ได้เรียนรู้การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของผำ
  • ได้ฝึกการแก้ปัญหาในระหว่างการทำโครงงานวิจัย
  • ได้เรียนรู้ผลจากการทดลองในPhaseต่างๆ
  • ได้ประการณ์ในการทำบ่อเพาะไข่ผำ
  • ได้เรียนรู้วิธีในการเลี้ยงไข่ผำอย่างไรให้ไข่ผำขยายพันธุ์ได้เร็วและได้ปริมาณที่มากไปพร้อมๆกัน